วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แนวโน้มการใช้งานอินเตอร์เน็ต

.1 แนวโน้มการใช้อินเตอร์เน็ตในอนาคต
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าในอนาคต อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น และจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบใหม่ ดังนี้
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Internet Device) จนถึงขั้นสามารถควบคุมบ้านทั้งหลังได้ด้วยระบบอินเทอร์เน็ต
มีการประชุมทาง VoIP กันจนเป็นเรื่องปกติทั่วไป เพราะน้ำมันมีราคาแพง การเดินทางไปประชุมจะเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่า จนต้องประชุมผ่านเครือข่าย เนื่องจากปัจจุบันอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงราคาถูกลงมากแล้ว และสามารถติดตั้งตามบ้านที่พักอาศัยทั่วไปได้
นักธุรกิจรายย่อย จะมีการใช้เว็บไซต์สำเร็จรูป (DIY Website) ในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักของคนที่ใช้งานอินเทอร์เน็ต เพราะทำได้ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย แม้แต่ร้านขายขนมร้านเล็กๆ ก็ยังมีเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ตนเอง
มีอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ให้บริการทั่วไปตามร้านสะดวกซื้อ
อินเทอร์เน็ตจะมอบอำนาจสื่อให้แก่คนทั่วไป ทั้งเรื่องข่าวสาร วิทยุ โทรทัศน์ จนถึงขั้นที่ข้อมูลต่างๆ ไม่ได้ตกอยู่กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งดังในอดีต เห็นได้จากเว็บไซต์ ที่ทำให้การทำเว็บไซต์ทำได้ง่ายขึ้น สามารถใส่ภาพ ใส่เพลง และเขียนบันทึกที่เรียกว่า Blog เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างกว้างขวาง และเว็บ ที่ให้คนสามารถอัพโหลดไฟล์วีดิโอไปแบ่งปันกันดูได้อย่างง่ายดาย แม้แต่อินเทอร์เน็ตความเร็ว 56 K ก็สามารถดูได้ แต่ว่าความถูกต้องของสื่ออาจจะยังเป็นเรื่องที่เชื่อถือไม่ได้ทั้งหมด
จะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถแลกเปลี่ยนไฟล์กันทางโปรแกรมสำหรับดาวน์โหลดไฟล์ เช่น โปรแกรม Bitcomet, ABC, Azureus, BitTorrent ฯลฯ ได้ง่าย
อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นแหล่งก่ออาชญากรรมแหล่งใหม่ เนื่องจากคนใช้งานมากขึ้น เมื่อเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นก็ตาม จะส่งผลกระทบในวงกว้างและก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาลไม่ต่างจากการก่ออาชญากรรมทางอื่น



6.2 ตัวอย่างการใช้อินเทอร์เน็ตที่มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น

การนำวีดิโอมาแบ่งปันกันดู เนื่องจากปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การดูวีดิโอผ่านเว็บไซต์จึงไม่ใช่เรื่องยากหรือนานเกินรออีกต่อไป เพียงแค่มีพื้นที่จำนวนมาก ๆ ไว้เก็บไฟล์วีดิโอ มีการเข้ารหัสวีดิโอให้เป็นไฟล์ที่เหมาะสมกับการดูผ่านทางอินเทอร์เน็ต และมีเว็บไซต์ที่เป็นตัวกลาง ทำการเชื่อมโยง ไปยังไฟล์วีดีโอนั้น ก็สามารถแบ่งวีดิโอให้ผู้อื่นดูได้แล้ว


ตัวอย่างไฟล์วีดิโอที่สามารถดูผ่านทางเว็บไซต์ได้







นอกจากจะนำไฟล์วีดิโอเก็บไว้ในเว็บไซต์ของคุณเองแล้ว ยังมีที่เก็บวีดิโอที่กำลังเป็นที่นิยมมากในขณะนี้ นั่นคือเว็บไซต์ ซึ่งจะเป็นบริการที่ให้ผู้ที่มีไฟล์คลิปวีดิโอที่อยากจะมาแบ่งปันกันดู ได้ส่งไฟล์วีดิโอของตนเองเข้าไปในเว็บไซต์ แล้วไฟล์วีดิโอนั้นก็จะถูกเผยแพร่ต่อไป ซึ่งรายละเอียดของเว็บไซต์นี้มีดังนี้ คือ
ยูทูบ (YouTube) เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถอัปโหลดและแลกเปลี่ยนคลิปวีดีโอผ่านทางเว็บไซต์ ก่อตั้งเมื่อ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 โดยพนักงานบริษัทเพย์พาลสามคน ในปัจจุบันยูทูบมีพนักงาน 50 คน และมีสำนักงานอยู่ที่ ซานมาเทโอในรัฐแคลิฟอร์เนีย
การทำงานของเว็บไซต์แสดงผลวีดีโอผ่านทางในลักษณะ แมโครมีเดีย แฟลช ซึ่งเนื้อหามีหลากหลายรวมถึง รายการโทรทัศน์ มิวสิกวีดีโอ วีดีโอจากทางบ้าน งานโฆษณาทางโทรทัศน์ และบางส่วนจากภาพยนตร์ และผู้ใช้สามารถนำวีดีโอไปใส่ไว้ในบล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนตัวได้ ผ่านทางคำสั่งที่กำหนดให้ของยูทูบ
ยูทูบมีนโนบายไม่ให้อัปโหลดคลิปที่มีภาพโป๊เปลือยและคลิปที่มีลิขสิทธิ์นอกเสียจากเจ้าของลิขสิทธิ์ได้อัปโหลดเอง โดยผู้ใช้สามารถทำการแจ้งลบได้


ตัวอย่างไฟล์วีดีโอจาก www.youtube.com




ปัจจุบันมีบริการที่เป็นที่นิยมมากในหมู่นักเขียน นั่นคือ เว็บล็อก(weblog) หรือ บล็อก (blog) ซึ่งได้รับความนิยมมานานพอสมควรแล้ว โดยเริ่มจากกลุ่มคนที่ชอบการเขียนไดอารี่ แต่บล็อกในปัจจุบันพัฒนาไปมากกว่านั้น เพราะนอกจากจะเขียนไดอารี่ได้แล้ว ยังสามารถใส่ภาพเป็นอัลบั้มให้คนมาวิจารณ์ได้ หรือมีที่เล่นไฟล์เพลง ไฟล์วีดิโอเพื่อเปิดอัตโนมัติเมื่อมีคนกดเข้ามาที่บล็อก ซึ่งคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ช่วยให้บล็อกมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีบริการแบบนี้ก็ได้แก่
Windows Live Spaces


ตัวอย่าง Windows Live Spaces ที่มีทั้งการเขียนบล็อก ตัวเล่นไฟล์วีดิโอ(Window Media Player) ที่เก็บรูปภาพ ฯลฯ




การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น เมื่อมีบริการ DIY Website เว็บไซต์แบบนี้จะบริการทุกอย่าง เช่น บริการติดต่อเรื่องการขอชื่อโดเมน บริการเทมเพลตสำเร็จรูป ฯลฯ เจ้าของกิจการเพียงแค่สมัครใช้บริการแล้ว บอกรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการจะให้ปรากฏในเว็บไซต์ ก็จะสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง มีทั้งที่สร้างเองและบริการสร้าง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะปัจจุบันคนนิยมสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตเพราะสะดวกมาก


ตัวอย่างเว็บไซต์ที่บริการ DIY Website
http://www.ninenic.com


ตัวอย่างเว็บไซต์ที่สร้างจาก ninenic เว็บไซต์สำเร็จรูป




ข้อมูลทั้งหมดที่ได้ยกตัวอย่างมา เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ซึ่งสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม ในหน้าเมนูหลัก

ปัจจุบันนี้ มีเว็บไซต์เกิดขึ้นใหม่มากมาย มีข้อมูลต่างๆ ถูกเผยแพร่ทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่ดีและไม่ดี ข้อมูลที่ถูกและข้อมูลที่ผิด ข้อเท็จจริงและเรื่องที่สร้างขึ้น ดังนั้นผู้รับข้อมูลจึงควรใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารให้มาก และตรวจสอบข่าวสารทุกครั้งก่อนที่จะเชื่อ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับตัวท่านเองและส่วนรวมได้

หน่วยงานที่มีบทบาทในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย

อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ
อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถือกำเนิดเมื่อประมาณ 30 ปีที่แล้ว ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

ระบบเครือข่ายแบบเดิม

ระบบเครือข่ายแบบใหม่ที่ติดต่อกันได้อย่างอิสระ
การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้
ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น

ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)
ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ
ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป
บริการ ของ อินเตอร์เน็ต ได้แก่1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้ 2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ 3. การโอนถ่ายข้อมูล (FTP) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง 4. การสืบค้นข้อมูล (เวิลด์ไวด์เว็บ, Gopher, Archie) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้ 5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (ยูสเน็ต) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 6. การสื่อสารด้วยข้อความ (แชท, ไออาร์ซี) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม 7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต 8. การให้ความบันเทิง บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

บัญญัติ 10ประการ

บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6. ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7. ต้องไม่ละเมินการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8. ต้องไม่นำเอาผลงานของคนอื่นมาเป็นของตนเอง
9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกาและมีมารยาท

geovisit();

ประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต
ประโยชน์และโทษของอินเทอร์เน็ต
เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก สืบเนื่องมาจากการเล็งเห็นถึงผลประโยชน์ของการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ ซึ่งสามารถแบ่งหัวข้อดังต่อไปนี้
1. ด้านการติดต่อสื่อสาร เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการพูดคุยด้วยการส่งสัญญาณภาพและเสียง
2. เป็นระบบสื่อสารพื้นที่จำลอง (Cyberspace) ไม่มีข้อจำกัดทางศาสนา เชื้อชาติ ระบบการปกครอง กฎหมาย
3. ใช้พัฒนาการเรียนการสอนแบบธรรมดาได้ เนื่องจากมีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
4. สามารถค้นหาข้อมูลในด้านต่างๆ ได้ผ่านบริการ World Wide Web
5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางธุรกิจ เช่น สั่งซื้อสินค้า หรือการโฆษณาสินค้าต่างๆ
6. การบริการด้านการบันเทิงต่างๆ เช่น การดูภาพยนตร์ใหม่ๆ การฟังเพลง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การเกมออนไลน์ เป็นต้น
ไม่เพียงแต่อินเทอร์เน็ตจะมีประโยชน์กับผู้ใช้เท่านั้น ในทางกลับกันอินเทอร์เน็ตก็ให้โทษแก่ผู้ใช้ด้วยเช่นกัน ซึ่งโทษของอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายลักษณะ ทั้งที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เสียหาย, ข้อมูลไม่ดี ไม่ถูกต้อง, แหล่งซื้อขายประกาศของผิดกฏหมาย, ขายบริการทางเพศ ที่รวมและกระจายของไวรัสคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโทษของอินเทอร์เน็ตสามารถยกตัวอย่างเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้
1. เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก ข้อมูลด้านลบจึงเผยแพร่อยู่ปริมาณมาก
2. ไม่มีระบบจัดการข้อมูลที่ดี มาตรฐานการจัดการไม่เหมือนกัน ทำให้การค้นหากระทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร
3. การเติบโตเร็วเกินไป บางครั้งการเจริญเติบโตเร็วไปอาจเป็นโทษ เนื่องจากว่ากฎหมาย การควบคุมต่างๆ ยังไม่สามารถพัฒนาได้ตามทัน ดังนั้นข้อมูลข่าวสารด้านไม่ดีจึงแพร่หลายได้รวดเร็วกว่าการป้องกัน
4. ข้อมูลข่าวสารมีให้เลือกมาก จนบางครั้งพบว่าข้อมูลบางอย่างอาจไม่จริง ต้องดูให้ดีเสียก่อน อาจถูกหลอกลวงได้
5. การเข้าถึงข้อมูลของเด็ก เนื่องจากข้อมูลบางประเภทไม่เหมาะกับเด็ก ซึ่งการป้องกันทำได้ยาก เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ดังนั้นจึงต้องพยายามหากฎหมายมาควบคุม ตรวจตรา

การทำธุรกิจออนไลน์

การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3. การโอนถ่ายข้อมูล (FTP) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4. การสืบค้นข้อมูล (เวิลด์ไวด์เว็บ, Gopher, Archie) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (ยูสเน็ต) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (แชท, ไออาร์ซี) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8. การให้ความบันเทิง บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

06 มีนาคม 2551
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อดีตถึงปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2529 อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (AIT) ร่วมกับอาจารย์โทโมโนริ คิมูระ จากสถาบันเดียวกัน ร่วมสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยอาศัย
- โมเด็ม NEC ความเร็ว 2400 Baud - เครื่องคอมพิวเตอร์พีซี NEC - สายโทรศัพท์ทองแดง
โดยเครือข่ายที่ได้ วิ่งด้วยความเร็ว 1200 - 2400 Baud และมีเสียงดังมาก จากนั้นได้ปรับเปลี่ยนไปใช้บริการไทยแพค ของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ซึ่งใช้เทคโนโลยี X.25 ผ่านการหมุนโทรศัพท์ไปยังศูนย์บริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ทำการรับส่งอีเมล์กับมหาวิทยาลัยโตเกียว และมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้โปรแกรม UUCP ตลอดจนส่งอีเมล์ไปยังบริษัท UUNET ที่เวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา และนำมาใช้กับงานของอาจารย์ และงานสอนนักศึกษาในเวลาต่อไป นับได้ว่า อาจารย์กาญจนา กาญจนสุต เป็นบุคคลแรกที่เริ่มใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์รายแรกของประเทศไทย หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลออสเตรเลีย ภายใต้โครงการ The International Development Plan (IDP) ได้ให้ความช่วยเหลือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย พัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทยขึ้นมา ในปี พ.ศ. 2531 โดยให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางของประเทศไทยในการเชื่อมโยงไปที่เครื่องแม่ข่าย ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และตั้งชื่อโครงการนี้ว่า TCSNet - Thai Computer Science Network โดยมีการติดต่อผ่านเครือข่ายวันละ 2 ครั้ง จ่ายค่าใช้จ่ายปีละ 4 หมื่นบาท และใช้ซอฟต์แวร์ SUNIII ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX ประเภทหนึ่ง ที่แพร่หลายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของออสเตรเลีย (Australian Computer Science Network - ACSNet) ซอฟต์แวร์ SUNIII เป็นโปรแกรม UNIX ที่สามารถรับส่งข้อมูลไปกลับได้เลยในการติดต่อครั้งเดียว ประกอบด้วยเครือข่ายการส่งข้อมูลระบบ Multiple Hops ทำให้แตกต่างจาก UUCP ตรงที่ผู้ใช้ไม่ต้องใส่คำสั่ง และบอกที่อยู่ของจุดหมายปลายทางผ่านระบบทางไกล เพราะเครือข่าย SUNIII สามารถหาที่อยู่ของปลายทาง และส่งข้อมูลได้เอง โปรแกรมนี้ทำงานได้ดีทั้งกับสายเช่าแบบถาวร (Dedicated Line) สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ติดต่อแบบ Dial-up และสายที่ใช้ X.25 นอกจากนี้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ยังเป็นศูนย์เชื่อม (Gateway) ระหว่างประเทศไทย กับ UUNET อันส่งผลให้นักวิชาไทยทั่วไป สามารถใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างกว้างขวาง ปี พ.ศ. 2534 อาจารย์ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดตั้งศูนย์อีเมล์แห่งใหม่ โดยใช้โปรแกรม MHSNet และใช้โมเด็ม 14.4 Kbps (ซึ่งเร็วที่สุดในประเทศไทยในขณะนั้น) และทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่อง Munnari ของออสเตรเลีย กับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศผ่านโปรแกรม UUCP เครือข่ายแห่งใหม่นี้ ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยต่างๆ ใน TCSNet และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตลอดจนศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) และใช้ชื่อโครงการว่า "โครงการเชื่อมเครือข่ายไทยสารเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตต่างประเทศ" หลังจากนั้นเนคเทค ก็ได้พัฒนาเครือข่ายอีกเครือข่ายขึ้นมา โดยใช้ X.25 รวมกับ MHSNet และใช้โปรโตคอล TCP/IP เกิดเป็นเครือข่ายไทยสาร "Thai Social/Scientific Academic and Research Network - ThaiSarn" ในปี พ.ศ. 2535
ปลายปี 2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่าชื้อสายครึ่งวงจร 9.6 Kbps จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเชื่อมกับ UUNET สหรัฐอเมริกา ทำให้จุฬาฯ เป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับเครือข่ายภายใต้ชื่อ ThaiNet อันประกอบด้วย AIT, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และให้สามาชิกไทยสารใช้สายเชื่อมนี้ได้โดยผ่านทางเนคเทคอีกด้วย ภายใต้ระเบียบการใช้อินเทอร์เน็ต (Appropriate Use Policy - AUP) ของ The National Science Foundation (NSF) และปี 2537 เนคเทค ได้เช่าชื้อสายเชื่อมสายที่สอง ที่มีขนาด 64 Kbps ต่อไปยังบริษัท UUNet ทำให้มีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จาก 200 คนในปี 2535 เป็น 5,000 คนในเดือนพฤษภาคม 2537 และ 23,000 คนในเดือนมิถุนายน ของปี 2537 ฅ AIT ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมภายในประเทศระหว่าง ThaiNet กับ ThaiSarn ผ่านสายเช่า 64 Kbps ของเครือข่ายไทยสาร
ปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทย เปิดบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตแห่งประเทศไทย จำกัด อันเป็นบริษัทถือหุ้นระหว่างการสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้สายเช่าครึ่งวงจรขนาด 512 Kbps ไปยัง UUNet โดยถือว่าเป็นบริษัทผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกของประเทศไทย และได้เพิ่มจำนวนจนเป็น 18 บริษัทในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พ.ศ. 2550 บริการอินเทอร์เน็ต (Internet) ในประเทศไทยได้รับความนิยมอย่างสูงและมีความต้องการใช้งานเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ทั้งปริมาณผู้ใช้และปริมาณอัตราการรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน
การให้บริการอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต เชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย ต่อมาเมื่อ ตุลาคม 2540 เปลี่ยนรูปกิจการเป็น บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และได้รับสิทธิ์การให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์อีกเป็นครั้งที่สองและเมื่อ พฤศจิกายน 2544 แปรรูปพ้นสถานะรัฐวิสาหกิจโดยกระจายหุ้นส่วนใหญ่ ให้กับประชาชนผู้สนใจในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จนกระทั่งได้มีองค์กรอิสระองค์กรหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นและบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือ กทช. นั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจหน้าที่ของ กทช. ที่ พรบ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ได้บัญญัติให้ กทช. ต้องดำเนินการเปิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม จึงทำให้ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทย ถึง 59 ราย ภายในเวลาสองปีตั้งแต่ กทช. ปฏิบัติหน้าที่มา เนื่องจาก กทช. ได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรีให้ผู้ที่มีศักยภาพเข้าสู่ตลาดมากขึ้นและผู้ประกอบการเสียค่าธรรมเนียมในอัตราที่ถูกมาก ทำให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต ทุกรายในประเทศสามารถพัฒนาคุณภาพบริการของตนให้สูงที่สุดได้และมีราคาถูกที่สุดได้ อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ตกแก่ประชาชนเป็นหลัก การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ผู้ใช้ในประเทศไทยยุคเริ่มแรกจนถึงปัจจุบันใช้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายเป็นสำคัญ (Fixed Line Access) โดยเริ่มตั้งแต่ผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานพัฒนาเรื่อยมาจนเป็นใยแก้วนำแสงในปัจจุบัน Business Model บริการ อินเทอร์เน็ต ในอดีตประชาชนเข้าถึงโครงข่าย อินเทอร์เน็ต โดยการใช้คอมพิวเตอร์ต่อผ่านโทรศัพท์บ้าน โดยใช้โมเด็มเป็นอุปกรณ์โทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า Dial Up และคิดค่าบริการเป็นชั่วโมง การใช้ โมเด็ม โทรเรียกเข้าศูนย์บริการผ่านสายโทรศัพท์พื้นฐานดั้งเดิมจะมีอัตราการส่งข้อมูลที่ 28.8 kbps (28.8 กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งสาเหตุที่ทำความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้เพียง 28 kbps นั้น เนื่องจากว่าสายโทรศัพท์พื้นฐานตามบ้านเดิม เป็นโครงข่ายที่ทำจากลวดทองแดง ซึ่งจากคุณสมบัติทางกายภาพ (Physical Property) ของลวดทองแดงนั้น สามารถอนุญาตให้สัญญาณทางไฟฟ้า ที่มีความถี่ไม่เกิน 28 กิโลเฮิร์ซ หรือ 28 กิโลบิตต่อวินาทีเท่านั้นผ่านไปได้ แต่ในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เทคโนโลยีโมเด็มได้ถูกพัฒนาความเร็วข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าด้วยเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูล (Data Compression) สามารถส่งความเร็วได้สูงถึง 56 kbps และความหวังของผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต หลายฝ่ายดูเหมือนจะจบลงด้วยข้อจำกัดอัตราการรับส่งข้อมูลเท่านั้นอยู่หลายปี อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของโครงข่ายสายทองแดงเดิมที่มีอยู่ทั่วโลก ยุคอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จู่ๆ ก็เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสาย ทองแดง กันอย่างมากมายทั่วโลก โดยเริ่มเปลี่ยนแปลงเทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์เดิมเข้าสู่ยุค Digital Subscriber Line หรือ DSL เป็น เทคโนโลยี ที่พัฒนาการรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ลวดทองแดงธรรมดา ให้สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ทะลุขีดจำกัดด้านคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสายทองแดง DSL สามารถรับส่งข้อมูล อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงได้ตั้งแต่ 5 Mbps จนกระทั่งถึง 100 Mbps อีกทั้งยังมีข้อได้เปรียบจากเทคโนโลยี โมเด็ม แบบเดิมตรงที่สามารถเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ตลอดเวลา (Always o­n) โดยไม่จำเป็นต้องโทรเรียกเข้าศูนย์ผู้ให้บริการทุกครั้งและไม่นับชั่วโมงอีกต่อไป ทั้งยังสามารถใช้โทรศัพท์บ้านไปพร้อมกับการใช้ อินเทอร์เน็ต ได้อีกด้วย Business Model เปลี่ยนเป็นการเก็บค่าบริการรายเดือน การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสื่อกลางอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงผ่านข่ายสายไฟฟ้า (Broadband Power Line) ล่าสุดผู้ให้บริการไฟฟ้าทั้งสามแห่งได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมจาก กทช. ให้สามารถให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านสายไฟฟ้าในประเทศได้ นับเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีของประชาชนในประเทศที่มีทางเลือกที่ดีมากขึ้นและเป็นการพัฒนาโครงข่ายโทรคมนาคมโดยรวมของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยอีกประการ เทคโนโลยีไร้สายกำลังมาแรง ผลัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่สร้างความรุ่งเรืองในวงการโทรคมนาคมสลับกับเทคโนโลยีผ่านสายอันเป็นวฎจักรเสมอมา การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ไร้สายในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย โดยเริ่มเกิดความนิยมจากการใช้ WiFi ของ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ไร้สายซึ่งมีความสะดวกสบายจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นก็ยังมีการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ที่รู้จักกันในนาม iPSTAR เรียกได้ว่าเป็นดาวเทียมแบบ interactive ดวงแรก นอกจากนี้ในอนาคนอันใกล้เราอาจได้ยินคำว่า WISP หรือ Wireless ISP นั่นเองซึ่งเป็นผู้ให้บริการ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงไร้สายที่เรียกโดยรวมว่า Broadband Wireless Access (BWA) หรือเราอาจเคยได้ยินในชื่อทางการค้าอย่าง WiMax เป็นต้น WiMAX กล่าวให้เข้าใจง่ายคือ การเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างนั่นเอง หลายท่านคงนึกภาพการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน WiFi ออก WiMAX ก็แค่เพิ่มพื้นที่การครอบคลุมให้กว้างขึ้นนั่นเอง เรียกว่าเป็น สิบๆ กิโลเมตรเลยทีเดียว สภาพตลาดบริการอินเทอร์เน็ต (Market Structure) ปัจจุบันมีคนไทยใช้ อินเทอร์เน็ต ประมาณ 10 ล้านคน สภาพตลาดบริการโดยรวมมีจำนวนผู้รับใบอนุญาตเพื่อให้บริการ อินเทอร์เน็ต จาก กทช. ทั้งสิ้น 59 ราย บริการ อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่ามีระดับการแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีจำนวนผู้ให้บริการจำนวนมากใกล้เคียงลักษณะตลาดแบบ Perfect Competition ในอุดมคติและจำนวนผู้ใช้บริการก็มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ในตลาดบริการ อินเทอร์เน็ต ทั้งสองตลาดมีอัตราค่าบริการที่ต่างกันตามคุณภาพบริการหรืออัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล กล่าวคือ ตลาดอินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำ (Narrow Band) จะมีอัตราค่าบริการที่ต่ำกว่าตลาด อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูง (Broad Band) โดยแนวโน้มของอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต มีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด (สอดคล้องกับหลัการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม) ปัจจุบันอัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วต่ำราคาค่าบริการต่ำสุด 4 บาทต่อชั่วโมง ในขณะที่อัตราค่าบริการ อินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงอัตราค่าบริการต่ำสุดที่ 290 บาทต่อเดือน แนวโน้มธุรกิจ IT ในปี 2550 ในรายงานศูนย์วิจัยกสิกรไทยฉบับ “52 ธุรกิจปีกุน: ต้องเร่งปรับตัว...รับเศรษฐกิจพอเพียง” ปีที่ 13 ฉบับที่ 1946 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 ประมาณว่า ตลาดไอทีไทยจะยังสามารถเติบโตเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 15 มีมูลค่าตลาดประมาณ 162,717 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้ - การขยายตัวของเศรษฐกิจ ในปี 2550 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2550 ว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.0-5.0 ทั้งนี้เนื่องมาจากปัจจัยบวกหลายประการ อาทิ ความสามารถในการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐจะมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจไทยในปีหน้า อัตราเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ในขณะที่ราคาน้ำมันในประเทศก็น่าจะมีเสถียรภาพมากกว่าในปี 2549 ที่ผ่านมารวมทั้งมีความเป็นไปได้ของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีหน้า ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้น่าจะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่ายซื้อสินค้ามากกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งการเพิ่มการลงทุนสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น - การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในด้านไอที มูลค่าตลาดไอทีนั้นหากเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) แล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นจัดว่ามีสัดส่วนค่อนข้างน้อยหรือประมาณร้อยละ 1.97 ของ GDP ในปี 2549 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.22 ในปี 2550 โดยกลุ่มที่มีการใช้จ่ายทางด้านไอทีสูงได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ กลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและโฮมออฟฟิส (SOHO) กลุ่มการศึกษา ส่วนกลุ่มราชการนั้นน่าจะมีโครงการจัดซื้อเพิ่มขึ้นหลังจากที่ในปี 2549 ได้ชะลอการจัดซื้อลง - การเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์ สำหรับตลาดคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและยังมีโอกาสขยายตัวได้ดี ทั้งนี้เพราะฐานจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อครัวเรือนของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ โดยในปี 2550 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณว่าตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลนั้นน่าจะมีการเติบโตขึ้นประมาณร้อยละ 8-10 มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็น 1.4-1.5 ล้านเครื่อง - การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสร้างจุดขายใหม่ๆ ได้เพิ่มขึ้น แต่ราคาเทคโนโลยีกลับเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ในปี 2550 จะมีเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาต่อเนื่องจากปี 2549 โดยเฉพาะ Dual core Processor ที่จะทำให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและรองรับการทำงานในลักษณะมัลติมีเดียและรองรับระบบปฎิบัติการวินโดว์วิสต้า ที่จะเปิดตลาดอย่างเป็นทางการในปี 2550 Thailand, English and Internet จากเอกสาร BITS AND BAHTS: THAILAND INTERNET CASE STUDY ของ ITU (INTERNATIONAL TELECOMMUNICATION UNION), March 2002, ใน BOX ที่ 1.3 หัวข้อ Thailand, English and Internet นั้นเป็นบทวิเคราะห์วิจัยให้เห็นภาพรวมของการใช้ประโยชน์จาก อินเทอร์เน็ต ของคนไทยกับปัญหาด้านภาษาอังกฤษ

Thai Internet User’s English Barrier สะท้อนให้เห็นภาพรวมว่า ภาษาอังกฤษไม่ใช่ปัญหาสำหรับคนไทยผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต เลย กลับเป็นเรื่องเล็กที่สุดด้วยซ้ำไป ส่วนใหญ่คนไทยผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต จะมีความรู้ทางภาษาอังกฤษในระดับที่ดี ในภาพรวมนั้น ภาษาอังกฤษ เป็นปัญหาที่คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตประสบน้อยที่สุดเพียง 23% เท่านั้นเอง แต่ปัญหาที่ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ต ประสบสูงที่สุดคือ ความเร็ว นั่นเองเป็นปัญหาใหญ่ถึง 40%


จากเอกสาร BITS AND BAHTS: THAILAND INTERNET CASE STUDY ของ ITU เมื่อ มีนาคม 2002 ยังได้สำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้า ออนไลน์ ของคนไทยพบว่าแทบไม่มีความต้องการซื้อสินค้าผ่าน อินเทอร์เน็ต โดยเหตุผลสูงสุดที่คนไทยไม่ต้องการซื้อสินค้า ออนไลน์ นั้น เนื่องจากว่า ไม่สามารถสัมผัสหรือเห็นสินค้าชัดๆ ได้ถึง 40% รองลงมาคือไม่อยากกรอกหมายเลข บัตรเครดิต ลงในอินเทอร์เน็ต 34% ไม่เชื่อใจผู้ค้า 33% ไม่สนใจ 26% ไม่มีบัตรเครดิต 25% รู้สึกยุ่งยากซับซ้อน 23% และเหตุผลน้อยที่สุดคือไม่อยากเสียเวลารอสินค้ามาส่ง 14% แต่ในปัจจุบันมีการซื้อขาย ออนไลน์ เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ


นอกจากนั้นผลการสำรวจของ ITU ในเอกสารดังกล่าวยังระบุว่า ความพร้อมด้าน อินเทอร์เน็ต (E-readiness) ของคนไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 46 จากการสำรวจใน 60 ประเทศ กทช. มีมติเปิดเสรี อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ กทช. มีหน้าที่เปิดเสรีในทุกบริการโทรคมนาคมของประเทศ ซึ่งนอกจากเปิดเสรีให้เกิดการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรมในการให้บริการ อินเทอร์เน็ต ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังรวมถึงเปิดเสรีให้มีผู้ให้บริการเชื่อมต่อโครงข่ายไปยังต่างประเทศด้วย ที่เรียกกันว่า International Internet Gateway (IIG) ในการประชุม กทช. เมื่อวันที่ 24 พค. 50 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้มีการแข่งขันเสรีบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับประกาศ กทช. ทั้งนี้การเปิดเสรีบริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ โดยการสร้างวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในต่างประเทศโดยตรงนั้น เชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศโดยรวมคือ 1. ก่อให้เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม มีการลงทุนและพัฒนาโครงข่ายที่เพียงพอต่อความต้องการบริการ กระตุ้นเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนโดยรวมของประเทศไทย ลดต้นทุนการผลิตจากค่าบริการที่ลดลง 2. การแข่งขันเสรีภายในกรอบการกำกับดูแลที่เหมาะสม จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ยังลดทอนการผูกขาดและกระจายความเสี่ยงของการมีช่องทางเชื่อมต่อที่ล้าสมัย 3. การที่มีผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ ISP ในประเทศได้ใช้บริการเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของจำนวนแบนด์วิดท์ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง 4. ส่งเสริมเสถียรภาพโดยรวมของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงจากการมีวงจรสำรองเชื่อมต่อระหว่างประเทศ (Redundancy) เพิ่มมากขึ้น การเปิดเสรี International Internet Gateway ครั้งนี้นั้นสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรมและเปิดโอกาสให้มีผู้ให้บริการ IIG เพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้ประชาชนมีทางเลือกที่ดีมากขึ้นและโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศโดยรวมมีการพัฒนาประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ทั้งยังตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในประเทศที่ต้องการบริโภคข้อมูลที่มีปริมาณสูงขึ้นการเพิ่มช่องทางการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ไปต่างประเทศจะลดการคับคั่งช่องทางการจราจรและยังเป็นวงจรสำรองของประเทศเมื่อเกิดเหตุวงจรเชื่อมต่อเดิมประสบปัญหา

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้ ้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการ พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่

คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet ) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์

ความหมายของอินเทอร์เน็ต

1.1 ความหมายของอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ทั่วโลก โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นโปรโตคอล (Protocol) เดียวกัน โปรโตคอลที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่าทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol) ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนใยแมงมุมที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทางตามความต้องการโดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องทำการติดต่อไปตามเส้นทางโดยตรง แต่อาจจะผ่านจุดเชื่อมต่ออื่น ๆ หรือเลือกไปเส้นทางอื่นได้หลายเส้นทาง การติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บางครั้งเรียกว่าการติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติหรือการติดต่อสื่อสารแบบไร้ขอบเขต (Cyberspace) ซึ่งรู้จักในนามของโลกไซเบอร์สเปรช
รูปที่ 1.1 การติดต่อสื่อสารบนระบบเครือข่ายทั่วโลก
Information Superhighway หรือทางด่วนข้อมูล เป็นโครงสร้างของระบบโทรคมนาคมพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลดิจิตอลที่มีความเร็วสูง มีความเชื่อถือได้ และมีความปลอดภัย ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราหลาย ๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุระกรรม วรรณกรรม และอื่น ๆ ดังนี้
1.1.1 ด้านการศึกษา สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ เป็นต้น
1.1.2 ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถซื้อขายสินค้าผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า การแจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
1.1.3 ด้านการบันเทิง การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และภาพยนต์เก่ามาดูได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

1.อธิบายความหมายของอินเตอร์เน็ตได้
2.บอกประวัติความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตได้
3.อธิบายถึงรูปของการบริการต่างๆของอินเตอร์เน็ตได้
4.บอกถึงบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ตที่นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตคประจำวันได้
5.จำแนกรูปแบบของการบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ตได้
6.บอกประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ตได้
7.อธิบายถึงโลกติดอินเตอร์เน็ตได้
8.บอกหน่วยงานที่บทบาทในอินเตอร์เน็ตของประเทศไทยได้
9.บอกแนวโน้มของการใช้อินเตอร์เน้ตในอนาคตได้

วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สาระการเรียนรู้

1.ความหมายของอินเตอร์เน็ต
2.ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ต
3.อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
4.การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
5.ประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ต
6.บัญญติ 10 ประการของอินเตอร์เน็ต
7.หน่วยงานที่มีบทบาทของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
8.แนวโน้มการใช้งานอินเตอร์เน็ต

หน่วยที่1 ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

แนวคิด
ในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่ควบคุมไปทั่วโลก โดยได้เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน ผ่านวิธีการติดต่อสื่อสารที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน กลายเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานในปัจจุบัน นอกจากนี้ควรจะศึกษาถึงความเป็นมาของระบบอินเตอร์เน็ตที่เกิดขึ้น ซึ่งได้แพร่หลายอยู่ในโลกของการสื่อสารยุคปัจจุบัน นอกจากประโยชน์ที่ได้รับอย่างมากมายจากการใช้บริการรูปแบบต่างๆของอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังต้องคำนึงถึงโทษที่เกิดขึนจากการใช้งานของอินเทอร์เน็ตอีกด้วย

วิชา ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2551 โรงเรียนห้วยแถลงพิทยาคม อ.ห้วยแถลงจ.นครราชสีมา คุณครูผู้สอน คุณครูศิริพร วีระชัยรัตนา

1.น.ส.สุมิตรา บุญทิมากรณ์ เลขที่9
2.น.ส.ทิพย์สุดา หึมวัง เลขที่37
3.น.ส.ปิยะนุช อินทร์เขื่อนพะเนาว์ เลขที่ 38
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/6